การสอบเพื่อรับประกาศนียบัตร
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
วันที่ และเวลาสอบ
วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 1300 น.
สถานที่สอบ
ณ ห้อง A3-301 ตึกเพชร ชั้น 3
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าสอบ
- มีสัญชาติไทย หรือมีเชื้อชาติไทย
- มีใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่สอบ
- มีสถานะเป็นสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น ที่ กสทช. รับรอง
หลักสูตร และหัวข้อวิชาในการสอบ
ภาคทฤษฎี
ข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ ใช้เวลาทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง
ข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ ใช้เวลาทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง
1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น (ข้อสอบ 25 ข้อ)
สิทธิที่ได้รับอนุญาตของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง เกี่ยวกับคลื่นความถี่ ลักษณะหรือประเภทของการส่ง (Class of emission) และขนาดกําลังส่ง
ลักษณะการใช้งานสถานีที่ได้รับอนุญาตและบุคคลที่สามารถใช้สถานีได้รวมทั้งเงื่อนไขและข้อห้ามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ ส่วนที่เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
การสื่อสารเพื่อแจ้งข่าวฉุกเฉิน
2. การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น (ข้อสอบ 20 ข้อ)
วัตถุประสงค์ของประมวลรหัส Q (Q code) และความหมายของประมวลรหัสที่ควรรู้เพิ่มขึ้นในขั้นกลาง ได้แก่ QRM, QRQ, QRS, QRV, QSD, QSM, QSZ, QTR, และ QSX
คําย่อและคําเฉพาะที่ควรรู้เพิ่มขึ้นสําหรับขั้นกลาง ได้แก่ Monitor, Out, Breaker, OM และ RY
หลักปฏิบัติและมารยาทในการเรียกขาน และในการติดต่อสื่อสารในย่าน HF
3. ทฤษฎีต่างๆ สําหรับนักวิทยุสมัครเล่น (ข้อสอบ 20 ข้อ)
ทฤษฎีไฟฟ้า
พลังงาน (Energy) และหน่วยของพลังงาน (กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
ความหมาย และหน่วยของคาบเวลา ความสัมพันธ์ของคาบเวลา และในการติดต่อสื่อสารในย่าน HF
หน้าที่ของวงจรเลือกความถี่ (Tuned circuit) High-pass filter, Low-pass filter และ Band-pass filter
วงจรปิด (Close circuit) และวงจรเปิด (Open circuit)
ความถี่วิทยุ (Radio frequency) ความถี่เสียง (Audio frequency)
การแบ่งค่ากระแสและค่าแรงดัน
การคํานวณวงจรกระแสสลับ
ค่า RMS ของกระแสรูป Sine
ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิกส์
ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติการตัด และประโยชน์ในการนําไปใช้งานของผลึกควอตซ์
ความสัมพันธ์ของกําลังไฟฟ้า ของหม้อแปลงไฟฟ้า (กําลังไฟฟ้าขาเข้าเป็นผลรวมของกําลังไฟฟ้าขาออกกับกําลังไฟฟ้าสูญเสียภายในหม้อแปลง)
ส่วนประกอบหลักของมิเตอร์แบบเข็ม
ความรู้เกี่ยวกับหลอดสูญญากาศ ดังนี้ องค์ประกอบหลักคือ ไส้หลอด แคโถด กริด และเพลต กระแสและทิศทางการไหลของกระแสสมมุติในวงจร เพลตแคโถด ขั้วไฟฟ้าของเพลตเทียบกับแคโถด และกริดเทียบกับแคโถดของหลอดชนิดไตรโอด ประโยชน์ในการนําไปใช้งานที่สําคัญ เช่น ใช้ขยายสัญญาณ
ความรู้เกี่ยวกับไดโอด ดังนี้ ทำจากสารกึ่งตัวนํา ทิศทางการไหลของกระแสสมมุติ การเรียกชื่อขั้วทั้งสองว่า แอโนด และแคโถด ประโยชน์ที่สําคัญคือใช้เป็นตัวเรียงกระแส (Rectifier) ในแหล่งจ่ายไฟตรงและข้อจํากัดในการใช้งานที่สําคัญ คือ การทนกระแสสูงสุด และการทนแรงดันย้อนกลับสูงสุด (PIV)
ความรู้เกี่ยวกับทรานซิสเตอร์ดังนี้ทําจากสารกึ่งตัวนํา การเรียกชื่อขั้วทั้งสามว่าอีมิตเตอร์ เบส และ คอลเลคเตอร์ ทิศทางการไหลของกระแสสมมุติในวงจร การไบแอส ประโยชน์ในการนําไปใช้งาน เช่น การขยายสัญญาณ
หลักการทํางานของเครื่องรับ/ส่งวิทยุ
คําย่อลักษณะหรือประเภทของการส่ง (Class of emission) ที่เกี่ยวข้องว่ามีความหมายอย่างไร ได้แก่ N0N, A1A, A2S, J3E, R3E, H3E, F1B, F2A, F2D,F3E
ความหมายของคําว่าข่าวสาร (Signal information) Modulating signal สัญญาณคลื่นพาห์ (Carrier) สัญญาณคลื่นที่ถูกผสมแล้ว (Modulated carrier) การผสมคลื่นหลักๆในแง่วิธีการผสมคลื่นและวิธีการทําให้ได้ Signal information กับคืนมาทางด้านรับ และรู้จักองค์ประกอบของสัญญาณ วิธีการผสมคลื่นที่ควรรู้ คือ CW, AM, SSB, FM และ PM ความรู้เกี่ยวกับรหัสตัวอักษรของ RTTY ที่มีอยู่ 3 ชนิด คือ Baudot Code, AMTOR และ ASCII ความแตกต่างเบื้องต้นระหว่างรหัสทั้งสาม
ความหมายของคําที่เกี่ยวข้องกับการผสมคลื่น คือ ความกว้างแถบคลื่น (Bandwidth) การเบี่ยงเบนทางความถี่ (Frequency Deviation) เปอร์เซ็นต์ มอดูเลชั่นและความหมายของคําที่พบบ่อยๆ สําหรับนักวิทยุสมัครเล่นในการรับ-ส่งวิทยุ SSB และ CW คือ Linearity, Overmodulation และ Key click
หลักการทํางานของเครื่องส่งวิทยุและเครื่องรับวิทยุต่อไปนี้
เครื่องรับวิทยุแบบซูเปอร์เฮเทอโรดายน์
เครื่องส่งวิทยุแบบ CW
เครื่องส่งวิทยุแบบ AM
เครื่องส่งวิทยุแบบ SSB
การต่ออุปกรณ์ RTTY หรือเป็นอุปกรณ์ RTTY สมบูรณ์แบบ (Computer RTTY terminal)
การต่อ Packet Radio
คุณสมบัติของเครื่องรับ-ส่งวิทยุที่ดี (เฉพาะคําที่เกี่ยวข้องกับชนิดของการผสมคลื่นที่เพิ่มขึ้นในขั้นกลาง) ได้แก่ ความกว้างแถบคลื่น (Bandwidth) เสถียรภาพทางความถี่ (Frequency stability) ในส่วนของผลที่มีต่อการรับ-ส่งวิทยุแบบ SSB และ CW และ Spurious emission ซึ่งเกิดจากเครื่องส่งวิทยุ
สายอากาศและสายนําสัญญาณ
คุณสมบัติของสายอากาศ ได้แก่ Radiation angle, Radiation pattern, Directivity main lobe, Minor lobe, Front-to-back ratio, Polarization, Current voltage distribution ในสายอากาศแบบไดโพล และกราวด์เพลน
ผลที่เกิดจาก Ground effect ต่อ Radiation pattern
การเปลี่ยนแปลง Polarization เนื่องจากการเดินทางของคลื่นวิทยุสัญญาณรบกวนที่เกิดจากมนุษย์ (จากเครื่องมือเครื่องใช้ทางไฟฟ้าต่างๆ) มักเป็นแบบ Vertical polarization สัญญาณรบกวนจะมีขนาดมากขึ้นในย่านความถี่ต่ําเทียบกับย่านความถี่สูง
รูปแบบการแพร่กระจายคลื่น และโครงสร้างของสายอากาศแบบ Traps dipole, Long wire, Folded dipole และ /4 Ground-plane
การใช้ Matching network และ Antenna tuning unit ช่วยในการ Matching
วิธี Matching สายอากาศที่สําคัญ คือ Gamma match สาเหตุที่ต้องมีการทํา Matching ประโยชน์ของบาลัน 4:1 รวมทั้ง Quarter wave transformer
การแพร่กระจายคลื่น
ลักษณะคุณสมบัติและผลกระทบต่อการสื่อสารในย่านความถี่ HF ของบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ชั้น D, E, F1, และ F2 โดยทราบถึงองค์ประกอบที่มีผลต่อการแพร่กระจายคลื่นวิทยุการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของชั้นบรรยากาศตามวันและเวลา ความหมายของคําต่อไปนี้ Atmosphere, Maximum usable frequency, Critical frequency, Critical angle
ลักษณะการเดินทางของคลื่นวิทยุในย่านความถี่ HF ในรูปของคลื่นฟ้า และ Skip zone
การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ประจําวันและการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน อิทธิพลของจุดดับในดวงอาทิตย์ต่อชั้นบรรยากาศ และผลกระทบต่อการสื่อสาร Geomagnetic disturbance
ลักษณะการเดินทางของคลื่นวิทยุแบบ Tropospheric bending และ Ducting
4. หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น (ข้อสอบ 20 ข้อ)
หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสายอากาศในย่านความถี่ HF ซึ่งมีแรงดันไฟฟ้าในบางจุดสูงจนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความเข้มสูง และความถี่สูง จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของร่างกายได้ และหลักปฏิบัติเพื่อลดหรือป้องกันอันตรายดังกล่าว
หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องส่งวิทยุที่มีกําลังส่งสูงโดยเฉพาะที่ใช้หลอดสูญญากาศทําหน้าที่ขยายกําลังสัญญาณความถี่วิทยุในภาคขยายกําลังภาคสุดท้าย
วัตถุประสงค์ของ Two-tone-test ในด้านการตรวจสอบ Linearity ของภาค RF Power amplifier
หน้าที่ของอุปกรณ์ประกอบต่อไปนี้ RF Linear power amplifier, Key, Electronic key
ประโยชน์ของ Line filter, TVI filter ในแง่ของการป้องกันการรบกวนจากคลื่นวิทยุปรากฏการณ์ที่ทําให้เกิดการรบกวนต่อผู้อื่น เนื่องจาเครื่องส่งวิทยุ เช่น การรบกวนต่อเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ (TVI) หลักปฏิบัติในการลดหรือแก้ไขการรบกวนต่าง ๆ
5. ความรู้เกี่ยวกับรหัสมอร์ส (Morse Code) (ข้อสอบ 15 ข้อ)
การแปลงรหัสมอร์สเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ
การแปลงรหัสมอร์สเป็นตัวเลข
การแปลงตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสมอร์ส
การแปลงตัวเลขเป็นรหัสมอร์ส
ภาคปฏิบัติ
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบรับรหัสมอร์ส กําหนดโดยเทียบจากความเร็วมาตรฐาน
ในการส่งคําว่า “PARIS” รวมกับกลุ่มคําเตรียมพร้อม “VVV”
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบรับรหัสมอร์ส กําหนดโดยเทียบจากความเร็วมาตรฐาน
ในการส่งคําว่า “PARIS” รวมกับกลุ่มคําเตรียมพร้อม “VVV”
ทดสอบการรับด้วยหูรหัสมอร์สเป็นภาษาอังกฤษ (40 กลุ่มคำ)
ทดสอบการรับด้วยหูรหัสมอร์สเป็นตัวเลข (10 กลุ่มคำ)